วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

ภาวะเงินเฟ้อ

ภาวะเงินเฟ้อ                                                                     


       ภาวะเงินเฟ้อ (inflation) หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องทำให้อำนาจซื้อหรือ ค่าของเงินลดลง เช่น เดือนที่ผ่านมาเราสามารถซื้อไข่ไก่ในราคาฟองละ 2 บาท แต่ปัจจุบันสามารถที่จะซื้อไข่ไก่หนึ่งฟองในราคา 4 บาท และอาจจะซื้อไข่ไก่ในราครที่สูงขึ้นอีกเรื่อยๆ


       ภาวะเงินเฟ้อนั้นจะทำให้ค่าเงินในกระเป๋าของเราลดลง หรือจะพูดในอีกแง้คือมูลค่าของเงินลดลง ความสามารถในการซื้อสินค้าก็ลดลงไปด้วย 




      สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ

  1.  ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น (Cost-push inflation) ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน
  2. ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (Demand-pull inflation) หรือ มีแรงดึงทางด้านอุปสงค์ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน

รายได้

รายได้                                                                                                         

          รายได้(income)  หมายถึง ผลตอบแทนที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติของกิจการรวมทั้งผลตอบแทนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ รายได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 
  1. รายได้จากการขาย (Sales) หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือบริการอันเป็นรายได้จากการดำเนินงานตามปกติ เช่น กิจการซื้อขายสินค้า รายได้ของกิจการ คือ รายได้จากการขายสินค้า ส่วนกิจการให้บริการ เช่น ซ่อมเครื่องไฟฟ้า รายได้ของกิจการ คือ รายได้ค่าซ่อม 
  2. รายได้อื่น (Other incomes) หมายถึง รายได้ที่มิได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่ใช้รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการนั่นเอง
ที่มาจาก: http://www.suretax-accounting.com/articles/accounting/131-2008-09-12-06-41-38.html ; ศัพท์บัญชีเบื่องต้น
         การได้มาของรายได้ของแต่ละคนนั้นจึงไม่เท่ากันบุคคลที่ทำธุรกรรมต่างๆมากหรือมีช่องทางในการประกอบธุรกิจการได้มาของรายได้จะมากขึ้นเช่นกัน  ดังนั้นการดำรงชีวิตของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ค่าครองชีพ

ค่าครองชีพ                                                                                                                               


          การดำรงชีวิตของทุกคนบนโลกนี้ต่างก็ต้องการมีความสุขสบายให้กับตัวเองได้อยู่อย่างมีความสุขดังนั้นการดำรงชีวิตนั้นทุกคนต่างก็ต้องการปัจจัย 4 คือ  อาหาร   ที่อยู่อาศัย  เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค  ดังนั้นการที่แต่ละคนจะมีความสุขหรือหาปัจจัย 4 ได้นั้นทุกคนก็ต้องการที่จะมีสิ่งที่สามารถสร้างความสุขให้กับตัวเอง  สิ่งนั้นที่เห็นกันอยู่ที่วันก้คือ เงิน  หมายถึง วัตถุหรือเอกสารใด ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการ และใช้ชำระหนี้ในประเทศหนึ่ง ๆ หรือในบริบทสังคมเศรษฐกิจหนึ่ง ๆหน้าที่หลักของเงินจำแนกได้ว่า


 
          (1) เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน
          (2) เป็นหน่วยวัดมูลค่า
          (3) เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า
          (4) บางครั้งในอดีต เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้า วัตถุหรือเอกสารที่ตรวจสอบได้และปลอดภัยใด ๆ ซึ่งสามารถทำหน้าที่เหล่านี้ล้วนเป็นเงินทั้งสิ้น   (http://th.wikipedia.org)    ดังนั้นเมื่อทุกคนมีเงินแล้วก็สามารถที่จะซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสิ่งของที่ตัวเองอยากได้เพื่อมาตอบสนองความสุขของตัวเองได้ แต่การที่จะได้เงินมานั้นคนแต่ละคนต้องมีการทำธุรกรรมต่างๆเพื่อที่จะได้เงินมาตอบสนองความต้องการของตัวเองได้   การประกอบธุรกรรมของแต่ละคนก็แต่ต่างกันออกไป บางคนอาจจะ ทำธุรกิจส่วนตัว เป็นลูกจ้างตามที่ต่างๆ การทำธุรกรรมเหล่านี้ ทำให้แต่ละคนได้รับเงินมาตอบสะนองความสุขของตัวเอง
       การที่ได้มาซึ่งรายได้นั้นก็ต้องมีค่าใช้จ่ายต่างๆในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของใช้ อาหาร เครื่องดื่มต่างๆ ในแต่ละวัน นั้น สิ่งเหล่านี้ เรียก ว่าค่าครองชีพ ดังนั้นค่าครองชีพหมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ ( พจนานุกรม ไทย ราชบัณฑิตยสถาน; http://dict.longdo.com/) ดังนั้นค่าใช้จ่ายหรือค่าครองชีพของแต่ละคนจึงไม่เท่ากัน

    
        ปัจจุบันค่าครองในประเทศไทยสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซี่ยน ซึ่งเห็นได้จากผล วิจัยของ Economist Intelligence Unit's หรือ EIU ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจ นิตยสาร Economist เปิดเผยผลการสำรวจ เมืองที่มีค่าครองชีพสูง ล่าสุดพบว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงสุดเป็นอันดับ 10 ของโลก และสูงที่สุดในกลุ่มอาเซียน ขณะที่กรุงเทพมหานคร อยู่อันดับที่ 72 มีค่าครองชีพสูงเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มอาเซียน ( Economist Intelligence Unit's; EIU )